Chatbot 101 : รู้จักหุ่นยนต์ผู้ช่วย
เคยมั้ย ?
– ลูกค้ามากมายถามคำถามเดิมๆตลอด
– อยากให้ลูกค้าทราบโปรโมชั่นผ่านเพจ แต่การเข้าถึงตก ก็ต้องลง Ads เพื่อให้คนเห็น
– หลับอยู่แต่มีลูกค้าขาดึก เยอะ ๆ ต้องตอบเอาวันรุ่งขึ้น เสียโอกาสการขาย
– ลูกค้าอยากรู้เรื่องสินค้าเพิ่มเติม แต่เราต้อง Copy & Paste เมื่อยมือ แค่ลูกค้าคนเดียวก็นิ้วบวมแล้ว
– ฯลฯ
ปัจจุบันได้มีตัวช่วยที่เรียกว่า Chatbot มาช่วยจัดการปัญหาการสนทนาซ้ำๆของคนโดยให้ระบบของคอมพิวเตอร์ตอบแทน
Chatbot คืออะไรกันนะ
หลายๆสำนักได้นิยาม chatbot หลายนิยามครับ แต่โดยสรุป
Chatbot ก็คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อโต้ตอบการสนทนากับคนเราผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น Application สำหรับแชท เว็บไซต์ Mobile Apps หรือแม้แต่โทรศัพท์นั่นเอง หรืออย่างเจ้า Siri ที่ฝังใน iOS กับ , Google Assistant นี่ก็ใช่ Chatbot แต่เป็นระดับที่ซับซ้อนครับ
ตัวโปรแกรม Chatbot ทำตัวเสมือนเป็นมนุษย์ที่สามารถพูดคุยในรูปแบบของตัวหนังสือ หรือ เสียง หรือไม่ก็ฉลาดขึ้นไปอีกก็เป็นภาพเคลื่อนไหวครับ
เจ้าแชทบอทในยุคนี้ มันถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเราในการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายลดการรอคอยในการโต้ตอบระหว่างเรากับลูกค้า เชื่อมสัมพันธ์อันดี กับ ลูกค้าให้แนบแน่นยิ่งขึ้น
แต่แนวคิด Chatbot นั้นเกิดมาจากคำถามของ แอลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) ผู้ได้ชื่อว่าเป็น ต้นความคิดของ ปัญญาประดิษฐ์(A.I.) โดยเค้าตั้งคำถามเริ่มต้นว่า
“Can machines think?” หรือ “เครื่องคิดเองเป็นมั้ย ? “
ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานของเรื่อง A.I จนมาถึงยุค 2016 เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI)ได้พัฒนาไปไกลมาก
ดูอย่างเรื่องใกล้ตัวก็แล้วกันอย่าง เวลาเราเล่นเฟสบุ๊ค ระบบการแสดงผลโพสท์ต่างๆบนฟีดของเรา ก็ใช้ A.I. ในการประมวลผลคิดแทนมนุษย์ว่าจะแสดงโพสท์เรื่องไหนดี โดยระบบ AI ของเฟสจะเรียนรู้ผู้ใช้แต่ละคนว่าชอบเรื่องไหน มีปฏิสัมพันธ์เรื่องไหนเยอะ ชอบไปกด ไลก์ เม้นท์ แชร์อะไร เข้าเว็บไซต์ไหนบ้าง ฯลฯ แล้วประมวลผลออกมาโดยแสดงโพสท์ที่คุณน่าจะถูกใจหรือตรงใจคุณมากที่สุด ซึ่งบางครั้งก็อาจตรงบ้างไม่ตรงบ้าง แต่ส่วนใหญ่มักจะโดนใช่มั้ยล่ะ ^ ^
นี่ครูคุยเลยเถิดไปเรื่อง AI ได้ยังไงหว่า… กลับมาที่ Chatbot กันดีกว่า
ประเภทของ Chatbot
เจ้าหุ่นนักพูดนีนนะครับ แบ่งตามความสามารถในการคิดได้เป็น 2 ประเภทครับ
1. Chatbot แบบไม่รู้จักเรียนรู้
เป็นโปรแกรมหุ่นยนต์ที่ต้องใส่ คำสั่งโต้ตอบให้มันครับ มันถึงจะสามารถโต้ตอบกับมนุษย์เราได้ ซึ่งปัจจุบัน มักมาใช้กับลูกค้า
สมมติว่าเราเป็นร้านค้าออนไลน์ ที่วันๆนึงต้องตอบลูกค้าอยู่ตลอด และต้องตอบซ้ำๆ เราคงเบื่อที่จะต้องมา Copy & Paste เป็นแน่
หรือไม่ก็เสียเงินไปกับการจ้าง พนักงานมาช่วยตอบเป็นแน่
แต่เมื่อเราเอาเจ้าหุ่นยนต์แชทมาช่วยตอบ เค้าไม่มีเหนื่อย ตอบคำถามลูกค้าซ้ำๆ ได้พร้อมๆกัน เป็นไงล่ะ ที่นี้ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สบายบรื๊อ รับทรัพย์ได้ง่ายขึ้น
หรือ ถ้าเป็นเป็นครู อาจารย์ อยากทำให้เรา สามารถตอบคำถามนักเรียนมากมาย ที่ถามคำถามคล้ายๆกันหรือเหมือนๆกัน ซ้ำๆ ก็สร้างเจ้า บ้อทนี่ขึ้นมา โปรแกรมให้มันตอบตามที่เราตั้งชุดโปรแกรมไว้ ซึ่งมักเรียก ชุดโปรแกรมนี้ว่า Keyword
ดูตัวอย่างได้จาก Line@ Id ของเพจไปเที่ยวกัน gothaitogether ( Line@ ID : @paiteawkan ) ที่ครูบอยทำไว้
เวลาพิมพ์ชื่อจังหวัด มันจะบอกว่า ที่เที่ยวในจังหวัดนั้น มีอะไรบ้าง ดูรูปด้านล่าง
หรือ อย่างสายการบิน KLM ก็ใช้ Chatbot ผ่าน Facebook Messenger ช่วยให้ผู้โดยสารจัดการเที่ยวบินที่ตัวเองจองได้ครับ
2. Chatbot แบบเรียนรู้เองได้
เป็นแชทบ้อท ที่มีระบบ Machine Learning ครับ คือ มันจะเรียนรู้ภาษาที่เราสื่อสารออกมาแล้วจะพัฒนาตัวเองให้สามารถสื่อสารกับมนุษย์เราได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างก็เช่น Siri ใน iOS หรือ Google Assistance ครับ
หรืออีกตัวอย่างที่ได้รับรางวัล Loebner Prize คือ Chatbot ที่ชื่อ Mitsuku ที่อยู่ในแอปพลิเคชั่นหาคู่ KIK ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความสนุกสนานให้สมาชิก KIK
นี่ล่ะครับ ที่มาที่ไปเบื้องต้นของ Chatbot ที่ครูบอย อยากเล่าให้ฟังในโพสท์นี้
ไว้มีเรื่องของการนำเอา หุ่นยนต์นักจ้อ แชทบอท มาเล่าให้ฟังใหม่ ว่าเอาไปใช้ในธุรกิจใดบ้าง
ถ้าเป็นประโยชน์ก็ฝากแชร์กันด้วยนะครับ
ใช้ลิ๊งนี้เลยในการแชร์ >> https://www.kruboydigital.com/chatbot-many-chat/
————-
ที่มา :
1. wikipedia
2. Hackermoon : Types of Chatbot
3. Brief history of Chatbot : https://pcc.cs.byu.edu/2018/03/26/a-brief-history-of-chatbots/