ฝ่าด่าน e-mail Spam

ป้องกัน สแปมเมลล์

ปัญหาทุกวันนี้ของนักการตลาดที่ใช้ email ในการทำ e-marketing campaigns ก็คือ ทำอย่างไรถึงจะทำให้ email ที่เราส่งไปนั้นไม่ตกอยู่ในถัง spam หรือโดนลบไปจาก Inbox ก่อนที่ผู้รับจะเปิดอ่าน

จากการศึกษาของ Returnpath ผู้ให้บริการคำปรึกษาและวิจัยเรื่อง email marketing ได้ทำการสำรวจเรื่องของ email Spam พบว่ากว่า 44 % ของผู้รับจะไ้ด้รับ Junk email จากผู้ส่งที่ตนเองรู้จัก และยังสำรวจพบอีกว่า่ 55% ของผู้รับจะลบ email ที่ไม่ต้องการทิ้ง อีก 27 % จะืทำการกำหนดให้email ที่ไม่ต้องการนั้นเป็น Spam (mark or Report as spam) จากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ผู้รับจะยินดีที่จะรับ email จากเราแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า email ที่เราส่งออกไปจะไม่ตกอยู่ใน Spambox หรือโดนลบทิ้งเพราะเป็น email ที่ไม่ต้องการ

Constant Contact ผู้ให้บริการโปรแกรมส่ง email แบบ online ได้ให้ข้อแนะนำในการลดปัญหาการตกถัง Spam ของ email ได้อย่างน่าสนใจดังนี้

  1. ใช้ชื่อที่มักจะรู้จักกันดีทั่วไปในการส่ง email ในช่อง from (from name)เช่น ชื่อของบริษัทคุณเอง ซึ่งแน่ล่ะ domain name หลัง @ ก็ควรจะเป็น domain name ของบริษัท ฯลฯ เพราะ บริการ email ส่วนใหญ่เช่น yahoo, hotmail หรือผู้ให้บริการ email ที่มีชื่อเสียง จะใช้ความมีชื่อเสียงของบริษัทเป็นตัวแปรในการตัดสินว่า email นั้นเป็น Spam หรือไม่

  2. ใช้ Subject หรือชื่อเรื่องที่ชัดเจน บอกได้ทันทีว่า email ของท่านมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เช่น ” How to guide for decorating your house “, “เที่ยวเหนือในราคา…. บาทผ่านบัตรเครดิต…ยี่ห้อ…” จะเห็นว่า หัวเรื่องแต่ละอันที่ยกมานั้นบอกชัดว่าเราจะได้อ่านเรื่องอะไรเมื่อเปิด email

  3. เสนอเนื้่อหาเกี่ยวข้อง แน่ล่ะถ้าคุณส่ง email ที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง โอกาสที่ผู้รับลบ emailของคุณในครั้งหน้่าย่อมมีสูงแน่นอน แถมยังเสียภาพพจน์อีกด้วยในสายตาผู้รับ

  4. ใช้ฐานข้อมูล Email ที่ทันสมัย หากคุณส่ง email ไปยังผู้รับที่ไม่มีตัวตนบ่อยครั้ง email ของคุณในครั้งหน้าก็มีโอกาสตกไปอยู่ในถัง Spam ได้เพราะ ISP หรือ ผู้ให้บริการ email จะมองว่ากำลังส่ง email ที่ผิดปกติออกไป ฉะนั้น หากคุณส่ง email ออกไปแต่ละครั้งแล้วมีผู้รับที่ไม่มีตัวตนหรือส่งแล้วเกิด Rejected Email ก็ควรลบ email นั้นออกจากระบบจะดีกว่า

  5. ยืนยัน email ระบบการยืนยัน email เป็นเหมือนหลักประกันว่าผู้รับต้องการรับ email จากเราแน่ ๆ เพราะเมื่อผู้รับสมัครรับ email จากเรา สิ่งที่เขาต้องทำต่อไปคือการยืนยันการเป็นสมาชิก เพราะหากผู้รัีบไม่ได้ทำการยืนยันก็หมายความว่าผู้รับอาจจะไม่ต้องการรับ email จากเราจริงๆก็ได้

ทั้งหมดคือข้อแนะนำจาก Constant Contact ครับ จริง ๆแล้วจะมี 6 ข้อแต่ผมเห็นว่าข้อแนะนำที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่อิงกับระบบการส่งemail ของ Constant Contact จะมีอยู่ 5 ข้อจึงนำมาลงเพียง 5 ข้อ วิธีการทั้ง 5 นั้นผมว่าเป็นลดโอกาสของจำนวน email ที่ตกจะในถัง Spam แต่ก็ไม่รับประกันว่าทุก Email ที่ส่งออกไปจะไม่ตกลงในถัง Spam อย่างไรก็ตามครับ หากสามารถลดจำนวน emailที่มีแนวโน้มจะตกในถังสแปมก็เท่ากับเพิ่มโอกาสในการเปิด email ของเราโดยผู้รับใช่มั้ยครับ สำหรับพวกที่ส่ง email แบบผู้รับไม่ยินยอมหรือไปซื้อ email มาจากที่ ๆ เราก็ไม่รู้ว่าผู้ขายเอา email มาจา่กไหน ก็ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่า email ของคุณมีโอกาสอยู่ใน Spam Box หรือโอกาสเผลอหน้าใน Inbox ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ผมกว่าเรากลับมาที่การทำ e-Marketing Marketing แบบเทพจะดีกว่าครับ ในระยะยาวคุณจะสร้างสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า

แหล่งอ้างอิง : Making it to the Inbox

บทความนี้ มาจากเว็บไซต์เก่าก่อนเป็น  maximumboy.com และมาเป็น kruboydigital.com ในปัจุบัน

*** ลิ๊งก์เก่า : http://www.thaiwebmarketing.com/email-spam-fighting/

ลงความเห็น