ซุนวูเคยกล่าวในพิชัยสงครามของซุนวู (Sun Tzu: Art Of War) ไว้ว่า
” รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ใยต้องกลัวพ่าย
รู้แต่เรา ไม่รู้เขา รบทุกครั้ง ใช่จะชนะทุกครั้ง
ไม่รู้เขา ไม่รู้เรา กรำศึกทุกครั้ง พ่ายทุกครา “
การทำ Search Engine Optimization ก็เช่นกัน ถ้าอยู่ ๆ Webmaster เว็บท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง เกิดอยากโปรโมทเว็บตัวเองขึ้นมาใน Google ฝันอยากให้เว็บตัวเองติดอันดับอย่างเว็บคนอื่นบ้าง ก็เลยไป Submit เว็บไซต์ของตัวเองที่ หน้า submission ของ Google จากนั้นก็เฝ้า Search เว็บของตัวเองด้วยคำว่า “ท่องเที่ยว” เค้าเฝ้า Search แล้ว Search เล่า Search แล้ว Search เล่า ๆๆๆๆ ผ่านไป 3 เดือนก็ยังไม่มีวี่แววของเว็บตัวเองอยู่ในอันดับต้น ๆ ดังหวัง แต่กลับเห็นเว็บคู่แข่ง หรือเว็บเพื่อนๆ ขึ้นอันดับเอา ๆ
โถ โถ โถ ก็จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น ก็พี่ webmaster เล่น submit เว็บแล้วก็อยู่เฉยๆแล้วรอ google มาโปรด แต่ในใจครวญว่า ” ได้โปรดเถิด google ” เป็นอย่างนี้แล้วคุณ Webmaster ท่านนี้คงเรียนรู้ต้องเริ่มเรียนรู้การทำ SEO เสียที
รู้จักตนเองให้ถ่องแท้ เริ่มทำ SEO ต้องวิเคราะห์เว็บเรา(Analysing your website)
สิ่งแรกในกระบวนนี้คือต้องรู้จักเว็บของเราเสียก่อนและคำถามที่ต้องถามกับเราเองคือ
1. เว็บเรามีชื่ออยู่ใน Google มั้ย
วิธีการที่จะรู้ว่ามีชื่อมั้ยหรือว่าโดนแบนกันแน่อย่างง่ายก็คือ
เข้าไปที่ google.co.th —> พิมพ์คำว่า site:http://domainname แล้วคลิ๊ก ” ค้นหา “ แล้วถ้าไม่ปรากฏผลค้นหาก็คงเป็นได้ 2 กรณีคือเว็บคุณโดนแบนหรือไม่ก็เป็นเว็บใหม่สดซิง ๆจึงติดอยู่ใน google sandbox effect (อ่านรายละเอียด)
ซึ่งการหลุดออกจาก Sandbox Effect คงต้องใช้เวลาแต่ยังก็สามารถทำการ Optimize เว็บไซต์เมื่อหลุดออกจากกล่องทราย เว็บคุณก็มีโอกาสได้รับตำแหน่งสูงๆ ก็เป็นได้ แต่หากเว็บคุณโดนแบน google ไม่ index หรือ ไม่เก็บไว้ในสารบบของ google คุณอาจต้องส่ง email ไปขออุทธรณ์ต่อ google
ในกรณีผลการค้นหาแสดงจำนวน URL แม้เพียงเว็บเดียวก็ถือว่า googlebot(spider – โปรแกรมของ Search engine ที่จะวิ่งมาเก็บ URL ของเว็บไซต์ต่าง ๆ) ได้มาเก็บเว็บไซต์ของคุณไว้ในฐานข้อมูลของมันแล้ว
2. เว็บของเรามีสิ่งต่อไปนี้หรือไม่
ประการต่อมาที่ต้องตรวจสอบสิ่งที่คุณควรมีในเว็บไซต์คือ
- Title TAG / META NAME TAG ซึ่งประกอบด้วยมี keyword หรือไม่
ทั้ง title tag และ meta tag จะแทรกอยู่ระหว่างแท็ก <Head></Head> ซึ่งในแท็ก TITLE จะปรากฏให้เห็นในส่วนบนของเว็บบราวเซอร์
—
—-
ส่วนแท็ก META NAME จะแบ่งออกเป็น
– ส่วน Description ซึ่งจะบอกว่า เว็บเพจหน้านั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
– และ่ส่วน Keywords ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่า เราต้องการใช้ keyword อะไรที่สำหรับผลการค้นหา แม้ว่าในปัจจุบัน ส่วนของ META KEYWORD เป็นปัจจัยที่ส่งผลบ้างแต่น้อยมากต่อการขึ้นอันดับของเว็บไซต์ แต่ก็ยังต้องคงไว้ในเว็บเพจของเรา Code ของ เว็บจะเป็นดังนี้ - ค่า Pagerank ของเราเป็นเท่าไหร่
Pagerank (PR)เป็นค่าตัวเลข 1 – 10 ที่ google ใช้วัด ” ความสำคัญ” ของเว็บเพจนั้น ๆ ย้ำ้นะครับว่า เว็บเพจ! ไม่ใช่เว็บไซต์ ยิ่งค่า PR ยิ่งสูงเท่าไหร่ เว็บเพจหน้านั้นก็มีโอกาสได้รับการจัดอันดับสูงขึ้นเท่านั้น แม้ว่า PR จะเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญอยู่เหมือนกันทีนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไซต์เราแต่ละหน้ามีค่า PR เท่าไหร่
วิธีการคือ เราต้องไปดาวน์โหลด Google Toolbar จาก Google(ดาวน์โหลด) ในจากนั้นทำการติดตั้ง(Install)
——–
วิธีการติดตั้ง Google Toolbar(สำหรับ Internet Explorer)
1. เมื่อดับเบิ้ลคลิ๊ก googletoolbarinstaller.exe แล้วก็จะปรากฏ Dialog Box ดังภาพขั้นที่ 1
– ให้เลือกช่อง “Please select a Google Site to use for your searches”(เลือกค้นหาเว็บด้วย google ในประเทศใด) ในที่นี้ผู้เขียนเลือก” Thailand ” เพราะสามารถค้นหาเว็บแบบทั่วโลกและเฉพาะเว็บไซต์ของไทย
– เลือก “Make Google my default search engine…. ” หากต้องการให้ google เป็น…
– ตัวเลือก ” To ensure a confict-free installation, all Internet Explorer windows needs to be closed ” ให้เลือก “Close all internet Explorer windows automatically ” ถ้าต้องการให้ปิดบราวเซอร์อัตโนมัติหลังติดตั้งเสร็จ หรือ เลือก “Don’t Close Internet Explorer windows(I will close them myself) ” ซึ่งในการใช้ Google Toolbar นั้นจะต้องปิดหน้าต่างของ Internet Explorer ทั้งหมดก่อนแล้วจึงเปิดขึ้นมาใหม่- คลิ๊กที่ปุ่ม ” Agree & Continue ”
—-
——————
2. Dialog Box ตามภาพ ขั้นตอนที่ 2 ก็จะปรากฏขึ้น ให้เลือก เท่านั้น เพราะหากเลือก ” Disable advanced features ” เวลาใช้ google toolbar ก็จะไม่สามารถดูค่า PR ได้จากนั้นคลิ๊ก “Finish” เป็นอันเสร็จพิธี——————
3. หากในขั้นตอนที่ 1 คุณได้เลือก “Close all internet Explorer windows automatically ” ทุกหน้าต่างของ Internet Explorer ก็จะถูกปิดเองโดยอัตโนมัติ จากนั้น Internet Explorere หน้าต่างใหม่ก็จะเปิดขึ้นมาเองพร้อมกับ Google Toolbar ที่ก็จะปรากฏขึ้นในส่วนของ Toolbar ของ Internet Explorer และหน้าบราวเซอร์ก็จะปรากฏหน้าเว็บดังภาพข้างล่าง แค่นี้คุณก็ใช้ Google Toolbar ได้แล้ว
**
——————
4. เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของตัวเองที่ Google Toolbar ก็จะปรากฏค่า PageRank ดังภาพ ข้างล่าง ซึ่งเป็นค่า PR ของเว็บ www.thinkandclick.com ซึ่งเท่ากับ 3หากท่านใดไม่มีแถบ PageRank ให้ลองเข้าคลิ๊กที่คำว่า Google ด้านซ้ายสุดของ Toolbar จะปรากฏเมนูให้เลือก Option จะปรากฏ Dialog Box “Toolbar Option > เลือก Browsing Tab >ในส่วน Navigation ด้านบนสุด ติ๊กเลือก PageRank > คลิ๊ก OK จากนั้น ทำการ Refresh (กด Crtl l+ F5 ) เท่านี้ก็รู้แล้วว่า PR ของเว็บเพจนั้นเป็นเท่าใด
3. เว็บของเราอยู่อันดับใดใน Google
สิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ต้องรู้คือเว็บไซต์ของเราอยู่ในอันดับใดใน Google เมื่อใช้ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราวิธีการง่ายคือ การใช้ keyword ที่ใกล้เคียงกับเรา Search ใน Google เพื่อให้รู้ว่า้้เราอยู่ในอันดับใดของ google แต่โดยทั่วไปแล้ว หากต้องการทำ SEO เป้าหมายของเราคือหน้าแรกหรืออย่างน้อยหน้าที่สอง เพราะส่วนใหญ่แล้วนักท่องเว็บจะดูผลค้นหาไม่เกิน 2 หน้าและหากเว็บของเราไม่ติดสองหน้าแรกแล้วล่ะก้อ งานหนักรออยู่ข้างหน้าแล้วล่ะครับ
นอกเหนือไปจากการเช็คอันดับด้วยตัวเองแล้ว ปัจจุบันยังมีเว็บไซต์ที่เตรียมเครื่องมือสำหรับตรวจสอบอันดับของเว็บไซต์อยู่หลายแห่งทั้งไทยและเทศ เสียตังค์และฟรีเช่น
- www.rankdd.com – อันนี้เป็นของไทยสมัครใช้ฟรี จะมีเครื่องมือที่บอกคุณได้ว่า ด้วย keyword ที่คุณต้องการค้นหา เว็บของคุณอยู่ในอันดับใดในหน้าแรก
- www.flyrocket.com – เว็บนี้เป็นของไทยแต่เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษมีเครื่องมือในการทำ SEO หลากหลายให้บริการทดลองใช้ฟรีและเสียตังค์
- www.nichebot.com/ranking/ – อันนี้ของฟรีจากเว็บต่างประเทศ เช็คได้ด้วยว่าจะใช้ google ประเทศอะไร และ ตรวจสอบผลค้นหาได้มากถึง 1,000 อันดับ
- www.googlerankings.com/index.php เว็บนี้ฟรีอีกเหมือนกัน แต่เวลาใช้ต้องขอ API Key จาก Google ก่อน
4. เช็คจำนวน Link Popularity
เป็นการตรวจสอบว่า มีเว็บอื่น ๆ เอา URL ของเราไปติดไว้มากน้อยแค่ไหนและภายในเว็บเราเองมีจำนวนลิ๊งก์ที่เชื่อมไปยังเว็บเพจที่ต้องการทำ Optimize เท่่าไหร่ โดยใช้คำสั่ง link:www.โดเมนเนมของคู่แข่ง หรือใช้ Google Toolbar ก็ได้โดยกดปุ่ม ” i ” ข้าง ๆ Pagerank แล้วเลือก Backward Links ก็จะได้ผลลัพท์เช่นกัน
จากรูปข้างล่าง Back links ของ เว็บ thinkandclick.com ที่ google เก็บไว้ณ.วันที่ 22 พ.ย. 48 มีอยู่ 9 links ซึ่งถือว่ายังน้อยอยู่เนื่องจากไม่ได้มีการฝากลิ๊งก์หรือแลกลิ๊งก์ไว้มากนักเพราะยังเป็นเว็บใหม่อยู่
ที่นี้ เมื่อคุณรู้แล้วว่าเว็บของตัวเองมีค่า PR เท่าไหร่, มี Description หรือ keyword ที่ Title/Meta Tag มั้ย , มีจำนวน backlink เท่าไหร่ ขั้นต่อมาที่ต้องรู้คือการศึกษาคู่แข่ง
รู้คู่แข่งให้ถ้วนทั่ว (Analysing your Competitors)
การสำรวจคู่แข่งก็คล้าย ๆ กับการสำรวจเว็บของคุณเองนั่นแหละ ขั้นตอนก็ได้แก่
- คู่่แข่งมาจากไหน – สิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ ในการจะรู้ว่าคู่แข่งมีใครบ้างก็คือเข้าไป Search ใน Google นั่นแหละโดย ให้คุณใช้ keyword ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของคุณที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เช่นหากเว็บของคุณขายของประเภทเสื้อผ้าผ่านเว็บไซต์ก็ลองใช้่ keyword อย่าง ขายเสื้อผ้า,กระโปรง,เสื้อยืด ไม่ใช่ E-Commerce หรือ ขายผ่านเว็บ ซึ่งอาจจะกว้างเกินไป(มาก) คือขอให้ใกล้เคียงกับเว็บของคุณ การจะใช้คีย์เวิร์ดมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่า้เว็บของคุณมีเนื้อหาหลากหลายแค่ไหน บางเว็บไซต์ขายของหลากหลายหรือมีสินค้าหลายยีห้อในเว็บคุณอาจต้องทำการบ้านหนักหน่อย เช่นถ้าคุณขายเสื้อ Brandname คุณอาจต้่องใช้ชื่อ Brandname นั้นในการ Search ด้วยก็ได้
- PR ของคู่แข่ง – เมื่อได้ชื่อเว็บคู่แข่งแล้ว ซึ่งอาจจะมี 10 -20 เว็บกรณีเว็บของคุณไม่ติด 2 หน้าแรก คุณก็มาเช็คดูว่าคู่แข่งของคุณมี PR เท่าไหร่กันบ้าง ณ.เวลานั้นเช็ค จำนวน Backlink หรือ Link Popularity ของ คู่แข่ง – โดยใช้คำสั่ง link:www.โดเมนเนมของคู่แข่ง หรือใช้ Google Toolbar ก็ได้โดยกดปุ่ม ” i ” ข้าง ๆ Pagerank แล้วเลือก Backward Links ก็จะได้ผลลัพท์เช่นเดียวกัน
- Keyword ที่คู่แข่งใช้ – คือการสำรวจหน้าเว็บนั้นๆของคู่แข่งว่าใช้ META Keyword อะไรกันบ้าง วิธีการตรวจสอบก็ง่าย ๆ หากคุณใช้ Internet Explorer ก็คลิ๊กขวา>เลือก View Source หรือ ไปที่ Menu Bar ด้านบน > เลือก View >เลือก Source แต่บางครั้งคุณอาจจะเจอว่าบางเว็บไม่สามารถ View Source ได้เพราะเว็บนั้นได้ทำการป้องกันการเปิด Source Code ไว้เมื่อทำการ View Source หน้าต่าง Notepad หรือ Text Editor ก็จะขึ้นมาและแสดง HTML Code ให้คุณดูที่ Meta Tag ( <meta name=”description” content=”…”>และ <meta name=”keywords” content=”…”>นอกจากนี้ เรายังสามารถเช็ค Keyword ต่าง ๆได้โดยดูจากเว็บเพจหน้านั้น ใช้คำอะไรบ่อยในการเขียนเนื้อหา หรือที่เรียกว่า ” Keyword Density ” การเช็ค Keyword Density จากที่ หน้า E-Marketing Tools ก็ได้
วางแผนช่วงชิงตำแหน่ง(SEO Planning)
ถึงตรงนี้คุณก็พอจะทราบคร่าว ๆ แล้วว่า เว็บไซต์ของคุณมีจุดดี จุดด้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งก่อนที่จะลงมือทำ SEO จริง ทีนี้ คุณก็จะต้องเริ่มวางแผนการเพื่อเตรียมเป็นเจ้ายุทธภพในยุทธจักร SEO ได้แล้ว
การทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับต้องใช้ระยะเวลา รู้จักการรอคอย ใช่ว่า ทำวันนี้ พรุ่งนี้เห็นผล คุณต้องวางแผนโดย แผนนั้นจะต้องคำนึงในสิ่งต่้อไปนี้
- วัตถุประสงค์ในการทำ SEO – บางเว็บต้องการเพียงให้คนรู้จักมากขึ้นสิ่งซึ่งจะใช้วัดก็คือ Traffic หรือ จำนวนคนเข้าเว็บ บางเว็บต้องการให้กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสได้เข้าถึงเว็บและซื้อสินค้าเพิ่ม สิ่งที่ใช้วัดไม่ใช่เพียงจำนวนคนเข้าเว็บ แต่ต้องรวมจำนวนคนที่เข้าเว็บผ่านทาง Search Engine และการซื้อสินค้าในครั้งแรกฉะนั้น คุณศึกษาทั้งตัวเองและคู่แข่งแล้ว คุณอาจจะต้องเก็บข้อมูลของเว็บคุณ ณ วันที่ยังไม่ได้ทำ SEO เพื่อเปรียบเทียบหลังจากการทำ SEO
- ระยะเวลา – การกำหนดระยะเวลาเฉพาะเจาะจงไปว่าจะให้เว็บไซต์ขึ้นอันดับเวลานั้นเวลานี้เป็นเรื่องยากพอสมควร แต่การระบุเวลาจะทำให้คุณมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยทั่วไป หากเป็นเว็บใหม่และอยู่ในเว็บประเภทที่มีการแข่งขันไม่สูงนัก ก็อาจจะใช้เวลา 6 – 8 เดือน อ่านแล้วอาจจะตกใจว่านานขนาดนั้นเชียวหรือ แต่คุณต้องไม่ลืมว่าไม่มีคุณคนเดียวที่พยายามโปรโมทเว็บผ่าน Search Engine แต่มีเป็นพัน ๆ เว็บ ซึ่งแน่นอนการที่จะไปช่วงชิงตำแหน่งจากเว็บอื่นในอันดับต้นๆ ของผลการค้นหา คงอาศัยเวลาและความเพียรฝึกเป็นหลัก และหากเว็บของคุณอยู่ในประเภทมีการแข่งขันกันสูงอย่างเช่นเว็บท่องเที่ยว เว็บจองโรงแรม เ็ป็นต้น บอกได้เลยครับว่าเป็นปีครับ
- ฺBudget – แม้ว่าการทำ GOOGLE SEO ดูจะเป็นการลงทุนแบบไม่ใช้เงิน แต่หากคุณต้องการที่เพิ่มความนิยมให้เว็บไซต์หรือ Link Popularity คุณอาจจะต้องยอมไปซื้อ พื้นที่ Sponsor Link หรือ Pay per Click บ้างเป็นระยะเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เห็นเว็บของคุณบ้าง เพราะการรอให้ติดอันดับด้วย วิธี Natural Search Marketing หรือ SEO นั้นเพียงอย่างเดียว อย่างที่บอกต้องใช้ระยะเ้วลาจนคุณอาจเบื่อเลยก็ได้
ในคราวหน้า เราจะเริ่มการทำ SEO อย่างจริงจัง ตอนนี้คุณคงจะต้องเริ่มศึกษาคู่แข่งและเว็บของคุณไปพร้อมวางแผนที่จะโปรโมทเว็บผ่าน Seach Engine แล้วล่ะครับ ยิ่งคุณเริ่มทำเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เห็นเว็บไซต์ของตนเองปรากฏอยู่ในหน้าแรกของผลการค้นหายิ่งเร็วเท่านั้น…คิดแล้วทำเลยครับ !
Pingback: 7 กระบวนท่า ทำซะ ! ก่อน Google จะเมิน(เว็บ)คุณ HOW to SEO - Digital Marketing Matters! by KruboyDigital Somkiat Lilitprapun