ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สร้างเว็บไซด์เพียงเพื่อให้ตัวเองหรือคนรู้จักได้ดู คงต้องข้ามบทความนี้ไปเลยครับ เพราะหากคุณหรือองค์กรของคุณ ต้องการให้ชาวโลกรับรู้ว่าฉันหรือเรามีเว็บไซด์ที่ให้ชาวโลกทั้งหลายสามารถเข้ามาเยี่ยมชม ใช้บริการ หรือซื้อสินค้าได้ง่าย ๆผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็คงไม่ใช่เพียงแค่สร้างเว็บแล้วปล่อยให้เจ้าเว็บไซด์ของคุณประกาศตัวมันเอง คุณเจ้าของเว็บนั่นแหละคงต้องต้องสรรหาวิธีช่วยมันด้วยเอ๊ะ … เกริ่นซะตั้งนาน แล้วมันเกี่ยวอะไรกับหัวข้อข้างบนหล่ะเนี่ย เกี่ยวซิครับ เพราะปัจจุบัน ด่านอรหันต์ด่านแรกที่ต้องเจอคือ Search Engine หรือสมุดหน้าเหลืองบนเว็บไซด์นั่นแหละ ก็เพราะ ปัจจุบันกว่า 81 % ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตหาเว็บไซด์ที่ต้องการผ่าน Search Engine ไม่ว่าจะเป็น google.com, yahoo.com , msn.com, a9.com, altavista.com เป็นต้น
หากกลุ่มเป้าหมายของคุณ เค้าไปค้นหาใน Search engine โดยใช้คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับเว็บของคุณแต่ผลการค้นหาในหน้าแรกกับเจอแต่คู่แข่งของคุณเต็มหน้าไปหมด ทีนี้ล่ะ ยุ่งแน่เพราะ โอกาสจะดังบนเว็บคงยากหน่อย ต้องใช้วิธีอื่นๆ แทน ด้วยเหตุนี้ คำว่า ” SEO ” จึงกำเนิดขึ้นมา
SEO คืออะไร ?
SEO ที่ว่านี้ย่อมาจาก Search Engine Optimization หมายถึงเป็นวิธีการหนึ่งของการทำตลาดบนอินเตอร์เน็ตด้วย Search Engine (Search Engine Marketing) ว่าด้วยวิธีการเลือกคำค้นหาหรือ “keyword” ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบนเว็บไซด์ และการปรับแต่งเว็บเพจ เพื่อให้เว็บไซด์ติดในอันดับต้นๆของ search engine ( ผลที่ได้จากการค้นหาเรียกว่า Natural Search result) ฉะนั้น ยิ่งเว็บไซด์ของคุณได้ปรากฏในอันดับต้นๆในหน้าแรกของผลการค้นหา โอกาสที่จะได้รับการคลิ๊กจากผู้ชมก็ยิ่งมากไปด้วย
ในปัจจุบัน มีบริษัทที่ให้บริการเรื่องการทำ SEO มากมายแต่ละที่ ก็มีขั้นตอนการทำแตกต่างกันไป ในเมืองไทยเองก็มีอยู่หลายเจ้าเหมือนกันก็ลอง Search หากันดูเองแล้วกันนะครับ อย่างไรก็ตามขั้นตอนโดยสรุปมีดังนี้
- Competition analysis – ศึกษาคู่แข่งของคุณก่อนว่าอยู่อันดับใด ใช้ keyword อะไร Code ของเว็บเพจเป็นอย่างไร และเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับการ monitor คู่แข่งและตัวคุณเองคือ Google Toolbar ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะบอกเราได้ว่าทำไมอันดับของเราใน Google จึงอยู่ต่ำหรือสูงกว่าคู่แข่งโดยดูจาก PageRank จาก Toolbar( ดูรูป ) คะแนนเต็มของจะ PageRank อยู่ที่ 10 ยิ่งเว็บใดที่มีค่าสูงยิ่งมีโอกาสติดอันดับต้น ๆ ใน google ล่ะครับ
นอกจากนี้ ยังมี SEO TOOLBAR ของ SEO Inc. ซึ่งจัดทำ Toolbar เพื่อให้นัก SEO ตรวจสอบว่า มีจำนวนเว็บที่ทำลิ๊งค์มาหาเว็บของคุณหรือเว็บของคู่แข่งกี่ลิ๊งค์ SEO Toolbar นี้จะทำการตรวจสอบจาก Search Engine ได้แก่ Google, Yahoo!, MSN, AOL และ DMOZ สำหรับ toolbar ทั้งสองแจกฟรีครับ download ได้ที่ toolbar.google.com สำหรับ Google Toolbar และ www.seoinc.com/toolbar สำหรับ SEO Toolbar - Keyword Research and Selection – ขั้นต่อมาคือการวิเคราะห์และเลือก keyword ที่เหมาะสมกับเว็บไซด์ ยิ่งใช้ keyword ที่เฉพาะเจาะจงยิ่งทำให้เว็บคุณมีโอกาสติดอันดับมากขึ้นครับ เครื่องมือที่ช่วยในการหา keyword นั้นมีอยู่หลายตัวบางชนิดก็ฟรี บางชนิดเสียค่าใช้จ่ายบ้างเช่น goodkeyword- ฟรีครับตัวนี้ download ได้ที่ http://www.goodkeywords.com/ , wordtracker – ทั้งฟรีและไม่ฟรีครับเป็น บริการเว็บ เข้าไปทดลองได้ที่ http://www.wordtracker.com/ , ดู รายชื่อ ไนพก เพิ่มเติมได้ที่หน้า click e-marketing tool ครับ
- On-page Optimization – คือการปรับ CODE ของเว็บ เช่น TITLE TAG, Meta Tag , ปรับ copy หรือเนื้อหาในเว็บเพจเพื่อบรรจุ keyword ที่เลือกไว้ให้เหมาะสม รวมถึงการ design หรือ redesign หน้าเว็บให้เหมาะกับ Search Engine
- Off-Page Optimization – โดยทั่วไปแล้ว ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เว็บคุณอยู่ได้รับการ Index หรือมีชื่ออยู่ใน Search Engine คือ จำนวนของเว็บทำลิ๊งค์เข้ามาหาเว็บของคุณ (Backward Link) นั่นเองหรือเรียกว่า เพิ่ม Link Popularity อย่างนี้ก็หมายความว่า ใครมี Backward Link เยอะก็มีโอกาสขึ้นอันดับสูงนะซิ คงไม่ใช่ซะทีเดียวครับ เพราะหากคุณเที่ยวไปขอแลกหรือซื้อลิ๊งค์สุ่มสี่สุมห้า ก็อาจโดนแบนจาก Search Engine ได้เพราะ Search Engine เองก็ดูด้วยว่าลิ๊งค์ของคุณมีจำนวนและมีคุณภาพมากแค่ไหน คุณภาพที่ว่าก็คือ จำนวนของเว็บที่ลิ๊งค์มาหาเว็บคุณควรจะเป็นเว็บที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือใกล้เคียงกับคุณเช่น หากคุณทำเว็บขาย VCD DVD ก็ควรม u backward link จากเว็บจำพวกข่าวสารเกี่ยวกับหนัง หรือ DVD เป็นต้น ดังนั้น วิธีการที่แนะนำคือการขอแลกลิ๊งค์หรือ Link Exchange มากหว่าจะไป Buy link ครับ
- Submission – คือการลงทะเบียนกับ search engine ซึ่งปัจจุบันในขั้นตอนนี้อาจจะไม่จำเป็นแล้วเพราะ Search Engine ส่วนใหญ่จะใช้ โปรแกรมที่เรียกว่า Robot หรือ Spider วิ่งไปหาเว็บไซด์ต่างๆเอง ยกเว้น web directory อย่าง DMOZ.com ซึ่งยังคงอาศัยการตรวจเว็บด้วยคนอยู่แต่ถ้าเว็บใดได้มีชื่ออยู่ใน DMOZ ก็เป็นบุญเลยล่ะครับเพราะ GOOGLE เองอิงข้อมูลจาก directory นี้มากและยังให้ PageRank กับ DMOZ สูงถึง 9 /10 นั่นหมายความว่าถ้าเว็บของคุณมีชื่ออยู่ใน DMOZ โอกาสขึ้นอันดับสูง ๆ มีแน่ครับ แต่ DMOZ ก็ใช้เวลาในการตรวจสอบเว็บนานมาก บางเว็บ submit ไปเป็นปี ยังไม่มีชื่อในเว็บนี้เลย
- Monitor Monitor Monitor – อย่าชะล่าใจเมื่อเว็บของคุณติดอันดับต้นๆ เพราะมีคู่แข่งของคุณคอยช่วงชิงแหน่งไปจากคุณตลอดเวลา การตรวจสอบอันดับทั้งเว็บของคุณและคู่แข่งของคุณ ละการเพิ่ม keyword ที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่ควรทำอยู่เสมอครับ
ขั้นตอนที่ว่ามาทั้งหมดนั้น อ่านแล้วเหมือนว่า ” ง่ายจัง ! ” คงไม่ง่ายอย่างนั้นครับ เพราะในเมื่อ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด การติดอันดับใน Search Engine ก็ต้องใช้เวลาฉันนั้น ว่ากันว่า ไม่ต่ำกว่า 6 เดือนครับถึงจะขึ้นอันดับต้นๆ
ทำการตลาดบน Search Engine แบบติดจรวดด้วย Google Adwords
แต่หากใครต้องการวิธีลัด Search Engine เองก็มีให้ครับ ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า “Pay per Click” ค่าย GOOGLE นั้นมี Campaign ชื่อ Google Adwords
ส่วนฝั่ง Yahoo! ก็มี ” Sponsored Search ” ครับ โดยเราต้องไปเลือก keyword และเข้าสมัครสมาชิกเพื่อประมูล keyword และเมื่อให้ราคาสูงที่สุดเว็บของคุณก็จะอยู่ผลการค้นหาด้วย keyword นั้น ในหน้าแรกเช่น ( ดูภาพข้างล่าง ) asiarooms.com ประมูล keyword “Thailand Travel” ได้เป็นอันดับหนึ่ง ชื่อของ asiarooms.com จะไปปรากฏเป็นอันดับหนึ่งในส่วนของ google adword ด้านขวามือครับ
แต่วิธีนี้คุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีผู้คลิ๊กที่ลิ๊งค์ของคุณเป็นจำนวนเงินเท่าคุณเสนอราคาประมูลได้ให้แก่ Search Engine เช่น หากคุณประมูลคำนี้ในราคา ( สมมุตินะครับสมมุติ ) 0.50 บาทต่อคลิ๊ก ทุกครั้งที่ผู้ชมคลิ๊กลิ๊งค์ของคุณ 0.50 บาทในมือคุณก็จะหลุดลอยไปอยู่ในมือของ Search Engine ครับ
ดังนั้น คงต้องชั่งนำหนักดูกันแล้วครับว่า การ ทำ Search Engine Optimization กับการทำ Pay per Click อย่างใดจะคุ้มค่ากว่ากัน
สำหรับ เทคนิคและแทคติคต่างๆ โดยละเอียด Thinkandclick จะนำมาเสนอในโอกาสต่อๆไปครับ(thinkandclick .com เป็นเว็บไซต์เก่าของครูบอยที่ปัจจุบันไม่มีแล้ว ท่านสามารถค้นได้จากใน webarchive.org ) เพื่อให้คุณได้ Think สักนิดก่อน Click to market ครับ
Pingback: กระบวนท่าที่ 1 : รู้เขา รู้เรา รบมิรู้พ่าย วางแผนทำSEO (website Analysis and SEO Plan) - Digital Marketing Matters! by KruboyDigital Somkiat Lilitprapun
Pingback: อย่าให้ Search Engine มาใกล้ฉัน..... ด้วย robot.txt - Digital Marketing Matters! by KruboyDigital Somkiat Lilitprapun